วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผ่นศิลาจารึกพระนาม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติผาแต้ม วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2531
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยูทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,500 ไร่)

ผาแต้ม

คำว่า "แต้ม" ในภาษาถิ่นดั้งเดิมหมายถึง รอยวาด ระบาย ประทับ หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ โดยใช้สี ให้ปรากฏเป็นรูปภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ โดยที่ผาแต้มนี้ เป็นแหล่งที่พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปีแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ยาวที่สุดยาว 180 เมตร และมีภาพมากกว่า 300 ภาพ

เสาเฉลียง

เสาเฉลียงเป็นประติมากรรมหินทรายชิ้นเอกจากธรรมชาติ โดยประกอบจากหินทรายสองชุดคือหินทรายยุคครีเตเชียส ชั้นบน (ซึ่งแข็งกว่า) และหินทรายยุคจูแรสซิก ชั้นล่าง (ซึ่งอ่อนกว่า) ถูกกระทำโดยน้ำและลมเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยล้านปี จนเกิด "กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ" ซึ่งเป็นแรงกดทับ และแรงธรรมชาติอื่น ๆ ทำให้เม็ดทรายในเนื้อหินเชื่อมประสานกันแน่นขึ้น ส่งผลให้สามารถรักษารูปร่างได้ถึงปัจจุบันนี้ ส่วนชื่อ เสาเฉลียง แผลงมาจากคำว่า "สะเลียง" ซึ่งแปลว่าเสาหิน

ผาชะนะได

ผาชะนะได เป็นสถานที่ที่อยุ่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศไทย ที่ใช้เป็นจุดเริ่มต้นคำนวณเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ตั้งอยู่ในป่าดงนาทาม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพิกัดภูมิศาสตร์ที่ ละติจูด 15 องศา 37 ลิปดา 3.5 พิลิปดา เหนือ ลองจิจูด 105 องศา 37 ลิปดา 17 พิลิปดา ตะวันออก

รูปภาพ

อ้างอิง

  • หน่วยบริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติผาแต้ม. ผาแต้ม (ป้ายประชาสัมพันธ์).
  • หน่วยบริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติผาแต้ม. เสาเฉลียง (ป้ายประชาสัมพันธ์).

แหล่งข้อมูลอื่น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น