วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

เกาะกูด เกาะสวรรค์


อำเภอเกาะกูด

          เกาะกูด เป็นเกาะสุดท้ายแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย ปัจจุบันรวมกับเกาะเล็ก ๆ ข้างเคียงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด

ประวัติ
          เกาะกูดเริ่มปรากฏหลักฐานตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อองเชียงสือ เจ้าเมืองญวนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ หนีออกจากกรุงเทพมหานครมาลงเรือที่เกาะสีชัง จากนั้นแล่นเรือชักใบในอ่าวไทยมา 7 วันจึงถึงเกาะกูดที่ไม่มีคนอยู่เลย
ชนพื้นถิ่นดั้งเดิมของเกาะกูดส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่อพยพมาจากเมืองปัจจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ที่ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 มีหมู่บ้านหลองมาดเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุด
เดิมเกาะกูดเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลเกาะหมาก อำเภอแหลมงอบ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเกาะกูด ในปี พ.ศ. 2523 ตัวเกาะกูดมีระยะทางห่างจากอำเภอคลองใหญ่ประมาณ 40 กิโลเมตร ประชาชนชาวเกาะกูดมีความยากลำบากในการเดินทางไปติดต่อราชการ ประกอบกับเกาะกูดอยู่ใกล้ดินแดนประเทศกัมพูชาด้านเกาะกงมากกว่าฝั่งไทย ทางราชการจึงมีนโยบายเพื่อความมั่นคงและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยได้ยกฐานะเกาะกูดและเกาะข้างเคียงขึ้นเป็น กิ่งอำเภอเกาะกูด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[1] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเกาะกูด โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]


ลักษณะโดยทั่วไป
          เกาะกูดเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 65,625 ไร่ ความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร ความกว้าง 12 กิโลเมตร เกาะยังมีสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขาและที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิดลำธาร ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกที่ขึ้นชื่อคือ น้ำตกคลองเจ้า ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่อ่าวยายกี๋ หาดคลองเจ้า หาดอ่าวพร้าว อ่าวง่ามโข่ หาดอ่าวเบ้า หาดคลองหิน อ่าวพร้าวจนสุดปลายแหลมเทียน ล้วนแต่เป็นหาดที่มีทรายสวยงามน้ำทะเลใส ประกอบกับธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังหลากชนิด รวมทั้งเกาะแรดและเกาะไม้ชี้ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะกูด
อำเภอเกาะกูดประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยรวม 24 เกาะ โดยแบ่งเป็น 3 หมู่เกาะ
  1. หมู่เกาะกูด มี 3 เกาะ ได้แก่ เกาะกูด เกาะแรด และเกาะไม้ชี้
  2. หมู่เกาะหมาก มี 9 เกาะ ได้แก่ เกาะหมาก เกาะยะรั้งใน เกาะยะรั้งนอก เกาะผี เกาะขาม เกาะกระดาด เกาะนก เกาะนอก และเกาะใน
  3. หมู่เกาะรัง มี 12 เกาะ ได้แก่ เกาะรังใหญ่ เกาะรังเล็ก เกาะตุ๊น เกาะกระ เกาะเทียน เกาะทองหลาง เกาะมะปริง เกาะยักษ์ เกาะกำปั่น เกาะใหญ่ เกาะกลาง และเกาะเล็ก
ปัจจุบันชาวเกาะกูดยังดำรงชีพด้วยการประมงชายฝั่ง เกษตรกรรม ทั้งสวนยางพารา สวนมะพร้าว แซมสวนผลไม้อีกเล็กน้อย








วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว


อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว

อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทยและอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

แหล่งท่องเที่ยว ด้านธรรมชาติ

  • แก่งคันนาน้อย

  • แก่งเจ็ดแคว

  • แก่งโจน

  • แก่งเตาเหล็ก

  • แก่งบัวคำ

  • แก่งลานกลอย

  • จุดชมทิวทัศน์บ้านหนองหิน

  • ทางเดินศึกษาธรรมชาติแก่งเจ็ดแคว

  • น้ำตก 5 ชั้น

  • น้ำตก 9 ชั้น





  • อุทยานแห่งชาติคลองลาน

    อุทยานแห่งชาติคลองลาน

    อุทยานแห่งชาติคลองลาน เป็นอุทยานแห่งชาติในจังหวัดกำแพงเพชร ที่มีพื้นที่มากกว่า 187,500 ไร่ มีพื้นที่ครอบคลุม ถึง 3 ตำบลได้แก่ ตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลโป่งน้ำร้อน และตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอุทยานแห่งชาติคลองลาน ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในวันที่ 25 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2525 ภายในอุทยานแห่งชาติคลองลาน มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิเช่น น้ำตกคลองลาน น้ำตกคลองน้ำไหล แก่งร้อยเกาะ เป็นต้น

    วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
    ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ
    สภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่
    สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล
    ลักษณะภูมิอากาศ
    เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี รวมถึงฤดูร้อนด้วย บนยอดดอยมีความชื้นสูงมาก ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี สามารถพบเห็น แม่ขะนิ้ง หรือ น้ำค้างแข็งได้
    พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
    ในอุทยานนั้นมีสภาพป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ไม้สัก ไม้ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้รกฟ้า ไม้มะค่า ไม้เก็ดแดง ไม้จำปีป่า ไม้ตะแบก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าให้พบเห็นอีกด้วย เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่าสำหรับมอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
    แต่สัตว์ป่าในเขตอุทยานนั้นมีจำนวนน้อย เนื่องด้วยถูกชาวเขา ล่าไปเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลือก็มี เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า